วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

~..ประดู่.~


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับต้นประดู่ Pterocarpus macrocarpus Kurz.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่อสามัญ Padauk
ชื่ออื่นๆ Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษา
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
การเตรียมพื้นที่ การปลูก และการดูแลรักษา
ในการเตรียมพื้นที่จะเตรียมให้ดีมากน้อยขึ้นกับวัตถุประสงค์สภาพพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการปลูก ดังนี้

1. การปลูกป่าเพื่อปรับปรุงป่าเสื่อมโทรมหรือปรับปรุงต้นน้ำลำธาร จะมีขั้นตอนไม่มากและเสียค่าใช้จ่ายน้อย คือ กำจัดวัชพืชแล้ว เก็บริบสุมเผาด้วยแรงงาน ถ้าพื้นที่ภูเขาสูงมีหินโผ่ลมาก เครื่องจักร ทำงานไม่สะดวกจะเสียค่าใช้จ่ายสูงการกำจัดวัชพืชโดยเผาจะดีกว่าในกรณีเป็นวัชพืชใบกว้างเช่น สาบเสือก และไม่มีลูกไม้ขนาดเล็กขึ้นอยู่ แต่ควรระวังควบคุมไฟไหม้เฉพาะพื้นที่ที่ต้องการ เมื่อกำจัด วัชพืชแล้วเก็บรักษากองสุมเผา หลังจากทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้ว และควรทำให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม
2. การปลูกป่าเชิงพาณิชย์ จะมีขั้นตอนกา แผ้วถางวัชพืชและเก็บริบสุมเผาเช่นเดียวกับ วิธีแรก แต่จะใช้รถแทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง คือ ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 และไถพรวนกลับดิน อีกครั้งด้วยผาน 7 เพื่อให้ดินร่วนและระบาย น้ำดี ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ระยะแรก จะสูง แต่อัตราการรอดตายของต้นไม้มีมาก เจริญเติบโตดีและประหยัดค่าใช้จ่ายในการ บำรุงรักษาระยะยาว
3. การปลูกโดยระบบวนเกษตร จะมีการเตรียมพื้นที่ที่ดีกว่า 2 แบบแรก เนื่องจากจะต้องปลูก พืชเกษตรแทรกระหว่างแถวของต้นไม้ด้วย วิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่ช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืชได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกจะเจริญเติบโตดี การตัดถนนและทำแนวกันไฟจะทำเมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว โดยทำถนนไว้ใช้ในการดำเนินการปลูกป่า เพื่อเป้นแนวทางตรวจการ และแนวกันไฟไปด้วย ถนนควรกว้างอย่างน้อย 4 เมตร และไม่มีความลาดชันมากนัก กรณีที่ปลูกป่าผืยใหญ่ถนนจะแบ่งพื้นที่ปลูกเป็นตอน ๆ เพื่อสะดวกแก่การทำงานวิธีการปลูกไม้ประดู่สามารถปลูกได้หลายวิธี ดังนี้ 1. การปลูกด้วยกล้า วิธีนี้จะให้ผลดีมีอัตราการรอดตามสูงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายกล้าไปปลูก คือ ต้นฤดูผนกล้าที่ปลูกจะมีช่วงเวลารับน้ำฝนนานก่อนจะถึงฤดูแล้ง จึงทำให้อัตราการรอดตายสูง วิธีปฏิบัติที่ดีก่อนนำกล้าไม้ไปปลูก มี

(1) การทำให้กล้าแกร่ง คือ ก่อนนำกล้าไปปลูก 1 เดือน จะลดการให้น้ำจากเช้าเย็นเป็น เช้าเพียงครั้งเดียวในช่วง 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ ต่อมาจะให้น้ำวันเว้นวัน ถ้ากล้าไม้อยู่ใน เรือนเพาะชำหลังคาเปิดก็เกิดให้กล้าไม้ได้รับแสงเต็มที่ตลอดวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนนำไปปลูก แต่ถ้ากล้าไม้อยู่ในเรือนเพาะชำปิดต้องย้ายกล้าไม้ออกมาที่กลางแจ้ง แล้วรดน้ำวันละครั้ง2-3 วัน หลังจากนั้นจึงลดเหลือเป็นวันเว้นวันได้

(2) การคัดเลือกกล้าไม้ ควรเลือกกล้าที่ได้ขนาดไปปลูก่อน ซึ่งสามารถเลือกได้ง่าย ถ้า มีการเรียงตามความสูงตั้งแต่แรกและก่อนปลูกควรรดน้ำกล้าไม้ให้ชุ่ม

(3) การขนส่งกล้าไม้ ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดและน้ำหนักพอเหมาะสำหรับคนงานที่จะขนย้ายได้สะดวก และระวังอย่าให้กระทบกระเทือน เมื่อถึงที่ปลูกควรหาที่ร่มให้กล้าไม้ได้วางพักหรือที่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด และควรนำกล้าไปปลูกในปริมาณพอดีกับแรงงานที่ปฏิบัติงานได้ในแต่ละวัน

(4) การเตรียมหลุมปลูก การขุดหลุมปลูกควรทำในวันปลูก โดยใช้จอบขุดหลุมขนาด (กว้าง x ยาว x ลึก) 25x25x25 เซนติเมตร และไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือยากำจัดปลวก เพราะจากผลการทดลองปลูกไม้ประดู่ ไม่ปรากฎความเสียหายจากสาเหตุดังกล่าวและประดู่สามารถทนทานต่อวัชพืชได้
2.ระยะปลูกที่เหมาะสม ประดู่เป็นไม้ป่าที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องการไม้ขนาดใหญ่ ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบไม้แปรรูปต่าง ๆ ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 2X 4 หรือ 4 X 4 เมตร ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ระยะปลูกแคบจะช่วยให้ต้นไม้มีรูปทรงดี ลิดกิ่งตามธรรมชาติหรือแตกกิ่งก้านค่อนข้างน้อย เนื้อไม้มีแผลเป็นน้อยใช้แปรรูปได้ดีปริมาณมาก สำหรับการปลูกป่าในระบบวนเกษตร ระยะปลูกควรจะต้องกว้าง เช่น 2 X 8เมตร หรือ 4 X 4 เมคร เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและใช้ช่วงระหว่างต้นไม้ เพื่อปลูกพืชเกษตรได้ดีด้วย
3.การปลูกผสมกับไม้ชนิดอื่น การปลูกไม้ใช้สอยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะมีทั้งไม้โตช้าและโตเร็ว ไม้ประดู่จัดเป็นไม้โตช้ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่ปลูกร่วมกับไม้โตเร็วชนิดอื่นได้ เช่น ไม้ยูคาลิปตัสหรือสะเดา เพื่อผลิตไม้ซุงหรือไม้ใช้ก่อสร้างขนาดเล็ก และปลูกผสมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินณรงค์หรือกระถินเทพา เพื่อผลิตฟืนและถ่าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และยังเป็นการลดการเช้าทำลายของโรคและแมลงอีกด้วย
4. การปลูกประดู่ด้วยเหง้า การปลูกด้วยเหง้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปลูกสวนป่า โดยเฉพาะการขนส่งและการปลูก จากการทดลองปลูกไม้ประดู่ด้วยเหง้า ปรากฎว่าได้ผลดี มีอัตราการรอดตายอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แม้ว่าจะต่ำกว่าการปลูกด้วยกล้า ส่วนการเติบโตไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด การเตรียมเหง้าประดู่ คือการเตรียมดิน ยกแปลงเพื่อเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าที่เพาะลงในแปลที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างกล้าที่ชำ 10 x 10 ซม. การบำรุงรักษาแปลงมีการรดน้ำถอนวัชพืช พ่นยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น เมื่อกล้าไม้มีอายุประมาณ 1ปี จึงถอนมาตัดแต่งให้ความยาวของส่วนเหนือคอรากประมาณ 2.5 ซม. ริดรากแขนงออกให้หมด ขนาดเหง้าที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6-1.2 ซม. ขนาดเหง้าที่ใหญ่กว่าไม่ทำให้มีอัตรารอดตายหรือเติบโตสูงขึ้น ความยาวของเหง้าควรประมาณ 15 ซม. ซึ่งสะดวกในการปลูกและการรวมมัด
5. การปลูกไม้ประดู่ด้วยกล้าเปลือยราก คล้ายวิธีการปลูกด้วยเหง้านอกจากจะลดค่าใช้จ่าย ในแต่ละขั้นตอนการปลูกแล้วกล้าเปลือยรากจะมีน้ำหนักเบาและใช้คนเดียวขนกล้าไปปลูกได้การเตรียมกล้าเปลือยราก จะเพาะเมล็ดในแปลงกลางแจ้ง และย้ายชำลงแปลงให้ต้นห่างกัน 15 เซนติเมตร ทำการตัดรากอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามีระบบรากสมบูรณ์ เมื่อกล้าไม้ มีอายุ 7 - 8 เดือนก็ถอนไปปลูกได้ การเตรียมอีกวิธีหนึ่งจะเลี้ยงกล้าในถุง เมื่ออายุ 7 - 8 เดือน ก็เอาดินในถุงออก และควรจะทำในวันเดียวกันการนำไปปลูกจะให้อัตราการรอดตายสูง และอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่างจากกล้าถุงดินปลูก ข้อสำคัญของการปลูกวิธีนี้จะต้องมีการจัดการพัฒนาระบบรากกล้าไม้ให้ดีและมีขนาดความโต และความสูงของต้นที่เหมาะสม6. การปลูกไม้ประดู่ในฤดูแล้ง มีประโยชน์ในการขยายช่วงเวลาให้กล้าได้ ตั้งตัวหลังปลูกจนถึงฤดูฝน ความสะดวกใน การขนส่งต่าง ๆ และหาแรงงานได้ง่าย สิ่งสำคัญจะต้องหาวิธีการที่ดีในการเตรียมกล้าและปลูกให้ประสบความสำเร็จดียิ่ง คือกล้าไม้ควรเป็นกล้าค้างปีอายุประมาณ 16 เดือนก่อนนำไปปลูกจะฉีกเฉพาะก้นถุง ให้รากเจริญลงดินได้ขนาดหลุม 25X25X25 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วพรวนดินกลบเป็น แอ่งเล็กน้อย ถ้าปลูกในทุ่งหญ้าคาในลักษณะ เจาะช่องปลูก จะได้ร่มเงารอบ ๆ แต่เมื่อถึงฤดูฝนต้องหญ้าออกทันที จากการทดลองปลูกไม้ประดู่วิธีนี้โดยไม่มีฝนตกเลย 32 วัน อัตรารอดตายเฉลี่ยประมาณร้อยละ 90 คือ ไม้ประดู่ สามารถทนแล้งได้ 1 เดือน และ ยังพบอีกว่า อัตรารอดตาย และการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกับการปลูกในช่วงต้น ฤดูฝนแต่อย่างใด
การบำรุงรักษา

1. การกำจัดวัชพืช ควรทำในฤดุการเจริญเติบโตของกล้าไม้หลังจากได้รับน้ำฝนเต็มที่ เพื่อให้กล้าไม้พ้นจากการแก่งแย่งของวัชพืช ถ้าวัชพืชปกคลุมกล้าหนาแน่น จะทำทั่วทั้งพื้นที่ด้วยเครื่องจักรและแรงคน และถ้าวัชพืชไม่หนาแน่นมากนัก จะใช้วิธีถางเป็นวงกลม รอบต้นอักวิธีหนึ่งคือการถางระหว่างแนวปลูกโดยเครื่องจักรกล ระยะปลูกไม่ควรต่ำกว่า 2 X 4 เมตร เพื่อความสะดวกของเครื่องจักรกลเข้าไทำงาน การกำจัดวัชพืชครั้งต่อไป ควรกระทำก่อนถึงฤดูแล้งเพื่อป้องกันไฟและลดเชื้อเพลิง ความถี่ของการกำจัดวัชพืชจะขึ้นอยู่กับชนิดวัชพืช วิธีการเตรียมพื้นที่ ชนิดไม้ที่ปลูกและงบประมาณดำเนินการไม้ประดู่ควรทำ 2-3 ครั้ง หลังปลูกก็พอ
2. การปลูกซ่อม หลังการปลูกควรติดตามว่า มีกล้าไม้ตายมากน้อยเพียงใด แล้วรีบปลูกซ่อมให้เต็มพื้นที่ และควรทำหลังจากการถางวัชพืชครั้งแรก เพื่อให้กล้าปลูกใหม่เจริญเติบโตสม่ำเสมอ กับกล้าปลูกครั้งแรก
3. การให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของกล้าปลูกใหม่ให้พ้นจากวัชพืช โดยเร็วและเป็น การเพิ่มผลผลิตไม้ในสวนป่าด้วย ถ้าพื้นที่ดินไม่ดีปุ๋ยสูตรเสมอ 15:15:15 จะช่วยให้ไม้ประดู่มีอัตราการรอดตาย และการเจริญเติบโตทั้งความสูงที่ดีกว่าถ้าไม่ใส่ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารในธาตุหนึ่งไม่ครบ วิธีการใส่ปุ๋ยจะทำหลังปลูก 1 เดือน ในปริมาณ 50 กรัม ต่อต้น (1 ช้อนแกง) ใส่ดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้น 30 เซนติเมตร จะช่วยการเจริญเติบโตของไม้ประดู่หลังปลูกได้ดี
4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 10-15 เมตร รอบแปลงสวนป่า เพื่อป้องกันทั้งไฟภายนอกหรือจากการเผาไร่ไม่ให้ลุกลามเข้ามา ถ้ามีการกำจัดวัชพืชดีจะช่วยลดปัญหาไฟเป็นอย่างดีหากมีการตัดถนนเมื่อเริ่มปลูกป่าก็จะ ใช้เป็นทางตรวจการและแนวกันไฟไปใน ตัวด้วย แต่ถ้ามีการปลูกสวนป่า ผืนใหญ่ก็ อาจจะทำแนวกันไฟภายในแบ่งเป็นแปลง ย่อย ๆ เพิ่มขึ้น
5.การป้องกันโรคแมลงและสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันการปลูกประดู่ ยังไม่พบความเสียหายที่เกิดจากโรคแมลง การป้องกันโดยทั่วไปจะทำความสะอาดสวน และกำจัดวัชพืช หรืออีกวิธีหนึ่งจะปลูกพันธุ์ไม้หลายชนิดในสวนป่า ส่วนสัตว์กัดแทะจะป้องกันโดยใช้ยาเบื่อหรือกับดัก และถ้ามีสัตว์เลี้ยงเข้ามาทำลายต้นไม้ที่ปลูกก็จะต้องลงทุนทำรั้วรอบสวนป่าเมื่อเริ่มปลูก
6. การตัดแต่งกิ่งไม้ประดู่โดยทั่วไปจะลิดกิ่งเมื่ออายุ 5 ปี เพื่อช่วยให้ลำต้นเปลาตรงการลิดกิ่งไม่ควรสูงเกิน 10 เมตร เพราะจะทำได้ลำบาก วิธีลิดกิ่งจะใช้บันไดปีนขึ้นไปแล้วเลื่อยกิ่งด้วยเลื่อยมือติดลำต้นและอย่าให้มีแผลฉีกขาด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ต้นประดู่
7. การตัดสางขยายระยะ จะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโตของขนาดลำต้น คือเริ่มแรก ปลูกระยะแคบเพื่อบังคับให้ลำต้นเจริญเติบโคทางความสูงและเปลาตรง เมื่อเห็นว่า ต้นประดู่เบียดชิดกันมากจะตัดสางขยายระยะระหว่างต้นออกซึ่งกระทำเมื่ออายุ 10 ปี โดยตัดต้นเว้นต้น ครั้งต่อไปก็อาจจะทำตามความเหมาะสม หรืออาจจะเลือกตัดต้นที่มีลักษณะไม่ดีออกก็ได้